ยาต้านไวรัส…ทางเลือกที่หลายคนเกรงกลัว
ยาต้านไวรัส…ทางเลือกที่หลายคนเกรงกลัว

ยาต้านไวรัส…ทางเลือกที่หลายคนเกรงกลัว

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อตรวจพบว่าร่างกายติดเชื้อ HIV ผู้ติดเชื้อจะต้องใช้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสในร่างกายขยายตัว และอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนยาเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละคน เนื่องจากเชื้อไวรัสเหล่านั้นมีการแบ่งตัวและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถ้าหากว่าเชื้อ HIV มีการผ่าเหล่าหรือพัฒนาขึ้นก็มีโอกาสที่เชื้อจะดื้อต่อยาต้านไวรัสที่เคยใช้อยู่ แต่สิ่งที่ผู้คนมักจะเกรงกลัวต่อยาต้านไวรัสก็คือ “ผลข้างเคียง” (Side Effects) เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับว่ายาต้านไวรัสไม่ได้ออกฤทธิ์เฉพาะกับเซลล์ที่ติดเชื้อเท่านั้น เซลล์ที่ไม่ได้ติดเชื้อก็มีโอกาสได้รับผลกระทบจากยาต้านไวรัสเช่นกัน นั่นทำให้เกิดผลข้างเคียงในการใช้ยาต้านไวรัส เช่น ท้องเสีย อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดหรือเวียนศีรษะ หรือบางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงชีวิต ทั้งนี้อาการที่เกิดขึ้นจะรุนแรงมากน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล นี่คือเหตุผลที่ผู้ติดเชื้อ HIV หลาย ๆ คนไม่อยากใช้ยาต้านไวรัส เพราะนอกจากจะมีโอกาสทรมานจากผลข้างเคียงของยาต้านแล้ว การใช้ยาต้านไวรัสยังไม่ใช่วิธีที่ช่วยฆ่าไวรัสอีกด้วย เพียงแค่ลดการเกิดใหม่หรือขยายตัวของเชื้อไวรัสเท่านั้นเอง แต่สิ่งที่จะฆ่าเชื้อไวรัสได้ก็คือภูมิคุ้มกันในร่างกาย

      “ทำอย่างไร เมื่อติดเชื้อ HIV แต่กลัวยาต้านไวรัส”

         คุณแอลตรวจพบว่าตนเองติดเชื้อ HIV ครั้งแรก แต่ยังไม่มีอาการอะไร เพียงแค่ทราบว่าติดเชื้อ ยังไม่ได้ตรวจวัดค่าต่าง ๆ เช่น CD4, Viral Load เป็นต้น เนื่องจากเธอยังวางใจว่าน่าจะอยู่ร่วมกับเจ้าเชื้อโรคร้ายนี้ได้ จากนั้นเธอก็เข้ารับการตรวจเป็นประจำทุก ๆ 3 เดือน แล้วเวลาที่เธอต้องต่อสู้กับ HIV อย่างจริง ๆ จัง ๆ ก็มาถึง เมื่อคุณแอลได้ตรวจวัดค่าบ่งชี้ที่สัมพันธ์กับเชื้อ HIV

         “ไปตรวจค่า Viral Load ครั้งแรกได้ 477 ค่ะ ส่วน CD4 อยู่ที่ประมาณ 700 ตอนนั้นรู้สึกกลัวมาก ๆ เพราะว่าเราเป็นเสาหลักของครอบครัว แล้วก็ไม่กล้าบอกพ่อกับแม่ด้วย ก่อนหน้านี้ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับยาต้านไวรัสพอสมควรแล้วก็รู้สึกกลัว Side Effects ของยาต้านไวรัสว่าถ้าใช้เราจะผอมลง ผิวดำ ทรมาน อะไรประมาณนี้ ก็เลยไม่กล้ารับยาต้านค่ะ”

         จากผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสที่กล่าวไปข้างต้นบทความ ก็ไม่แปลกใจที่หลาย ๆ คนไม่อยากใช้ยาต้านไวรัสและพยายามหาวิธีอื่น ๆ ที่พอจะเป็นไปได้ในการจัดการเชื้อ HIV ซึ่ง ศ.ดร. พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะวิจัย Operation BIM ผู้คิดค้นนวัตกรรมภูมิคุ้มกันบำบัด ได้อธิบายเกี่ยวกับยาต้านไวรัสไว้ว่า

         “ยาต้านไวรัสไม่ได้ฆ่าเชื้อไวรัส หน้าที่ของมันก็คือหยุดการ Copy เชื้อไวรัส ซึ่งทำให้ HIV ตรวจวัดไม่ได้ พอหยุดยาต้านไวรัสเมื่อไหร่ เชื้อ HIV ก็จะกลับมาทันที เท่ากับว่าวิธีนี้ไม่ใช่วิธีรักษาแถมยังมีผลข้างเคียงในระยะยาว แต่เนื่องจากไม่มีทางเลือกอื่น ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อหลาย ๆ คนต้องใช้ยาต้านไวรัสต่อไป เหตุผลที่ต้องใช้ยาต้านไวรัสเพื่อจัดการกับเชื้อ HIV ก็เพราะว่า HIV ไม่ได้ทำร้ายร่างกายโดยตรงแต่เชื้อไวรัสจะค่อย ๆ ทำลายระบบต่าง ๆ ในร่างกาย คนติดเชื้อ HIV จะประคองร่างกายได้จนกระทั่งประมาณ 10 ปี ถึงจะพัฒนาออกมาเป็นโรคเอดส์ เนื่องจากภูมิคุ้มกันลดลงจนไม่สามารถต่อสู้กับโรคฉวยโอกาสได้ ดังนั้นยาต้านไวรัสจึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่จะกดเชื้อ HIV เอาไว้”

      “ภูมิคุ้มกันบำบัด อีกหนึ่งทางเลือกต่อสู้ HIV”

         ในกรณีของคุณแอลที่กลัวการใช้ยาต้านไวรัสมาก ๆ บวกกับการที่ไม่อยากไปโรงพยาบาลบ่อย ๆ เธอจึงพยายามหาวิธีการด้วยตนเองโดยสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต จนได้มาเจอนวัตกรรม APCO ที่ช่วยให้เธอจัดการกับ HIV ได้ด้วย “ภูมิคุ้มกันบำบัด” คุณแอลได้รับชมคลิปวิดีโอหนึ่งที่มีผู้ป่วยมาพูดถึงนวัตกรรมนี้ควบคู่กับการดูแลตนเองจนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้น เธอจึงสนใจที่จะลองใช้ เนื่องจากตัวเธอเองก็เป็นคนที่ดูแลสุขภาพและออกกำลังกายเป็นประจำอยู่แล้ว เธอจึงตัดสินใจใช้นวัตกรรม APCO และเข้าร่วมโครงการ APCO Life Fitness Challenge ที่ ศ.ดร. พิเชษฐ์ เป็นผู้ก่อตั้งขึ้นมา

         “ทางผมและทีมงานได้ประกาศโครงการ APCO Life Fitness Challenge ให้ผู้ติดเชื้อ HIV ที่ไม่อยากใช้ยาต้านไวรัสมาเข้าร่วม ทั้งคนที่ไม่เคยใช้และคนที่ใช้แล้วต้องการจะลดหรือหยุด คอนเซ็ปต์ของโครงการก็คือ ท้าทายชีวิตด้วยการเข้าฟิตเนสโดยไม่ใช้ยาต้านไวรัส ผู้ร่วมโครงการจะได้รับการดูแลโดย ให้ใช้นวัตกรรมของ APCO พร้อม ๆ กับให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เป้าหมายหลักคือต้องการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้ติดเชื้อ HIV นั่นเองครับ”

         คุณแอลเล่าว่า นอกจากการเข้าร่วมโครงการ APCO Life Fitness Challenge แล้ว เธอยังต้องดูแลสุขภาพอย่างเคร่งครัด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอเพราะการนอนดึกส่งผลให้ค่า CD4 ลดลง ด้วยพฤติกรรมทั้งหมดที่กล่าวมา คือปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เธอมีสุขภาพดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว

      “พฤติกรรมที่ดี สร้างชีวิตใหม่ที่ดี”

         หลังจากที่คุณแอลได้เข้าร่วมโครงการ APCO Life Fitness Challenge เธอปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากมาย รวมไปจนถึงการใช้นวัตกรรม APCO อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 1 ปี จนสุขภาพของเธอดีขึ้นตามลำดับ แล้วเธอก็ค่อย ๆ ลดจำนวนนวัตกรรมลงจาก 9 แคปซูลต่อวัน เหลือเพียง 6 แคปซูลต่อวัน นวัตกรรมตัวนี้ช่วยในเรื่องของการกระตุ้นเม็ดเลือดขาวภูมิคุ้มกัน CD4 และ เม็ดเลือดขาวเซลล์ T พิฆาต (Killer T cell) เม็ดเลือดขาวเซลล์ T พิฆาต จะไปฆ่าทุก ๆ เซลล์ที่ผิดปกติในร่างกาย โดยวิธีนี้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญคือไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ ทั้งสิ้น

         จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่คุณแอลจะแข็งแรงขึ้นจากการใช้นวัตกรรม APCO ควบคู่ไปกับการดูแลตนเองอย่างเคร่งครัด จนล่าสุดเธอได้ไปตรวจสุขภาพผลปรากฏว่า

         “ตรวจครั้งล่าสุดไม่พบเชื้อในกระแสเลือดเลยค่ะ ค่า CD4 อยู่ที่ประมาณ 800 – 900 ส่วน Viral Load ก็หายไป ก็ใช้ชีวิตได้ปกติทั่วไป ไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองแตกต่างจากคนอื่นเลย”

         สุดท้ายนี้สิ่งที่คุณแอลบอกทางทีมงานก็คือว่า สำหรับผู้ติดเชื้อ HIV เรื่องกำลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับ 1 เลย เพราะถึงแม้ว่าคุณพ่อคุณแม่ของคุณแอลจะไม่ทราบเรื่องราวของเธอ แต่แฟนของคุณแอลนั้นคือคนที่ทราบและดูแลเธอมาโดยตลอด แฟนของเธอไม่เคยทำให้รู้สึกแปลกแยก ให้กำลังใจดี แล้วก็แทบจะไม่พูดถึงเรื่องนี้เลย นอกจากกำลังใจจากคนรอบข้างแล้ว กำลังใจจากตนเองก็สำคัญ คุณแอลบอกว่าอยากให้ทุกคนสู้ อยู่กับมันให้ได้ มีสติเพื่อให้ดูแลตนเองมากขึ้นกว่าคนปกติ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดี พักผ่อนให้เพียงพอ แล้วคุณจะค้นพบว่าการติดเชื้อ HIV ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แถมยังสามารถกำจัดมันได้โดยที่ไม่ต้องใช้ยาต้านไวรัสให้ทรมานกับผลข้างเคียงแต่อย่างใด เพราะภูมิคุ้มกันบำบัด ก็เป็นทางเลือกที่คุณแอลเลือกใช้และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี