เมื่อรู้ตัวว่าเป็นผู้ติดเชื้อ HIV สิ่งแรกที่ต้องทำคือพยายามดูแลให้ร่างกายแข็งแรง เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดี เนื่องจากเชื้อ HIV ไม่ใช่สิ่งที่ทำลายร่างกายโดยตรง เจ้าเชื้อโรคร้ายนี้มันจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้อ เม็ดเลือดขาวภูมิคุ้มกันจะค่อย ๆ ลดลง โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาว CD4 (Cluster of Differentiation 4) ซึ่งเป็นอาวุธสำคัญในการต่อสู้กับเชื้อ HIV โดยปกติค่าของ CD4 ควรจะอยู่ที่ ประมาณ 600 เซลล์ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร ร่างกายก็จะสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้ามาได้ แต่ถ้าต่ำกว่า 200 นี่เรียกว่าอันตรายแล้ว โดยการวินิจฉัยอาจจะบอกได้ว่าเป็นเอดส์ระยะสุดท้าย หมายความว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ค่า CD4 ต่ำ ร่างกายอ่อนแอ อันเกิดจากการไม่ดูแลตัวเองหรือ HIV ไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน โรคฉวยโอกาสก็จะมีเปอร์เซ็นต์ในการเกิดสูงขึ้น ตรงนี้คือสิ่งที่น่ากลัวของผู้ติดเชื้อ เพราะอย่างที่บอกไปว่า HIV ไม่ได้ทำร้ายร่างกายโดยตรงนั่นเอง โรคฉวยโอกาสที่น่ากลัวมาก ๆ เมื่อไม่มีภูมิคุ้มกันก็คือ “วัณโรค” (TB; Tuberculosis) เนื่องจากสถิติพบว่า TB เป็นโรคที่ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตมากที่สุด
เพราะฉะนั้น การที่จะรักษาตัวให้มีชีวิตปกติสุขได้ ต้องเคร่งครัดในการดูแลตนเองเป็นอย่างมากเพื่อรักษาค่า CD4 ให้อยู่ในระดับที่สูงสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคร้ายต่าง ๆ ที่พร้อมจะเข้ามาในร่างกายได้ทุกเมื่อ จากที่กล่าวมา คุณพงษ์ และ คุณดา คือคู่รักที่มีเชื้อ HIV ทั้งคู่ เป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผู้ติดเชื้อที่มี CD4 ต่ำและสูงได้อย่างเห็นภาพ แม้ว่าทุกวันนี้ทั้งคู่จะดูแลกันจนมีสุขภาพที่เป็นปกติแล้ว แต่ก็ตั้งใจจะมาเล่าเรื่องราวให้ได้รับรู้เพื่อเป็นแนวทางใช้ชีวิตร่วมกับเชื้อ HIV ซึ่งเป็นประโยชน์มากทีเดียว
“ร่างกายแข็งแรง เป็นต่อในการสู้กับ HIV”
เรื่องราวการต่อสู้กับเชื้อโรคร้ายของคุณพงษ์และคุณดา เริ่มตันขึ้นเมื่อตอนที่คุณพงษ์ไม่สบายหนักมาก ทั้งปวดท้อง หน้ามืด ไม่มีแรง ไอไม่หยุด เขาจึงถูกส่งเข้าโรงพยาบาลกะทันหันและดูอาการอยู่ห้อง ICU เป็นเวลานานถึง 9 คืน ในตอนนั้นคุณดาไม่ได้อยู่กับคุณพงษ์ ทราบข่าวจากพี่สาวที่ส่งรูปมาให้ดูแล้วเห็นว่าคุณพงษ์ไม่สามารถหายใจเองได้ พูดไม่ได้ มีสายระโยงระยางเต็มตัว จากนั้นก็ได้รับสายด่วนจากโรงพยาบาลให้ตนรีบไปตรวจเลือดทันที คุณดาเล่าความรู้สึกในตอนนั้นว่า
“ครั้งแรกที่รู้ข่าวคือพี่สาวเขาส่งรูปมาให้ดู เราก็งงว่าเป็นอะไรทำไมสายระโยงระยางเลย คุณหมอก็ไม่ได้บอกว่าเป็นอะไร บอกแค่ว่าปอดติดเชื้อขั้นรุนแรง แล้วก็มีโทรมานัดให้ไปตรวจเลือดที่โรงพยาบาล ซึ่งเราทำงานอยู่กรุงเทพก็รีบไป ผลคือติดเชื้อ HIV ก็ตกใจนะคะเพราะไม่คิดว่าจะเป็น ส่วนคุณพงษ์เขาก็อยู่ ICU ไม่รู้เรื่อง ยังเข้าเยี่ยมไม่ได้ ตอนนั้นอยากร้องไห้เลยค่ะ ถามคุณหมอเลยว่า…คุณหมอคะ มีโอกาสรอดไหม…คุณหมอก็บอกไม่ได้ว่าจะรอดหรือเปล่า เขาบอกว่าขึ้นอยู่กับร่างกายคนไข้ว่าจะรับยาที่หมอให้ไปไหวไหม บางคนให้ยาแรงไปก็รับไม่ได้ บางคนให้ยาอ่อนไปก็ฆ่าเชื้อไม่ได้ เรากลัวมาก แอบคิดเหมือนกันว่าเขาต้องไปแน่ ๆ เลย”
ดูเหมือนว่าคุณดาจะสามารถรับมือกับอาการติดเชื้อ HIV ของตนเองได้อย่างรวดเร็วกว่าการรับมือกับอาการป่วยของสามี ซึ่งในตอนแรกคุณพงษ์ไม่ทราบด้วยซ้ำว่าตนเองติดเชื้อ HIV เช่นกัน แต่สุดท้ายเมื่อทราบก็ตกใจพอสมควร
“ตอนแรกผมไม่รู้เรื่อง HIV ครับ แต่พอออกจาก ICU ได้สักประมาณ 4 – 5 วัน เขาก็ค่อย ๆ ตะล่อมบอกว่าติดเชื้อ HIV นะ เรานั่งนิ่งเลย แล้วก็ตรวจเจอวัณโรค ก็เลยได้ยาวัณโรคมากินคู่กับยาต้านไวรัส”
สาเหตุที่ทั้งคู่ติดเชื้อ HIV เหมือนกัน แต่คุณดาไม่มีอาการแทรกซ้อนใด ๆ เลย ในขณะที่คุณพงษ์ป่วยหนักมากก็เนื่องมาจาก ค่า CD4 ของคุณพงษ์ในเวลานั้นตกลงไปเหลือแค่ 3 เรียกว่าเป็นเอดส์แล้ว แถมยังมีเชื้อวัณโรคที่ดื้อยาอีกด้วย ส่วนค่า CD4 ของคุณดานั้นสูงเกือบพัน นั่นคือเหตุผลที่อาการของทั้งคู่แสดงต่างกันโดยสิ้นเชิง
“วัณโรค + HIV = รักษายาก”
การเป็นวัณโรคในผู้ติดเชื้อ HIV นั้นเป็นอะไรที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ในเรื่องเลวร้ายนี้ยังมีความโชคดีที่แม้คุณดาจะมีเชื้อ HIV แต่เธอเป็นคนที่ร่างกายแข็งแรงมาก จึงสามารถมีกำลังกายและกำลังใจในการดูแลสามีของเธอ ในเรื่องวัณโรคกับ HIV ศ.ดร. พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะวิจัย Operation BIM ที่ค้นพบนวัตกรรม “ภูมิคุ้มกันบำบัด” ได้อธิบายไว้ว่า
“วัณโรค โรคปอด คือเชื้อแบคทีเรีย Tuberculosis (TB) อาการของคุณพงษ์ค่อนข้างหนักครับ นอนอยู่โรงพยาบาล ติด TB (วัณโรค) แล้ว CD4 ก็ลงไปต่ำมากถึง 3 ซึ่งเป็นอาการของเอดส์แล้ว ส่วน TB ก็เป็นที่รู้กันว่าคือโรคที่ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตมากที่สุด ซึ่งปกติคนไม่เป็นเอดส์ก็รักษายากอยู่แล้วสำหรับวัณโรค กรณีคุณพงษ์เป็นผู้ติดเชื้อยิ่งยากเข้าไปใหญ่ ใช้ยาต้านแบคทีเรียก็ไม่หายเพราะมีเชื้อ TB ที่ดื้อยา”
จากคำอธิบาย จะเห็นได้ว่าชีวิตของคุณพงษ์เหมือนเข้าใกล้ความตายอย่างชัดเจน แต่คุณดาก็ยังไม่หมดหวัง แม้ว่าเธอจะเป็นห่วงสามี กลัวจะต้องตายจากกัน แต่อีกส่วนหนึ่งในใจก็ยังไม่ย่อท้อ จนเธอมาเจอกับนวัตกรรม APCO “ภูมิคุ้มกันบำบัด” จากเพจหนึ่งที่ขอหลังไมค์มาคุยด้วย แล้วก็ได้รับคำบอกเล่าว่าอาจารย์พิเชษฐ์มีนวัตกรรมสำหรับคนที่ติดเชื้อ HIV ตอนนั้นเธอดีใจมากและรีบสั่งผลิตภัณฑ์มาให้สามีทันที
“วัณโรค รักษายาก แต่รักษาได้”
หลังจากที่คุณดาให้คุณพงษ์ใช้ผลิตภัณฑ์ APCO รวมถึงเข้าโครงการของอาจารย์พิเชษฐ์เพื่อเพิ่ม CD4 ภายใน 1 เดือนค่า CD4 ของคุณพงษ์ก็สามารถขึ้นเกิน 200 ได้สำเร็จโดยที่ไม่ได้ใช้ยาต้านไวรัสร่วมด้วย ซึ่งตอนนั้นคุณดาและคุณพงษ์ก็รู้สึกดีใจมาก เหมือนเดินมาถูกทางแล้ว
หลักการสำคัญของ “ภูมิคุ้มกันบำบัด” ก็คือ การกระตุ้นเซลล์ T พิฆาต (Killer T cell) เพื่อให้ไปฆ่าเซลล์ทุกชนิดที่ผิดปกติในร่างกาย ซึ่งวิธีนี้จะสามารถช่วยผู้คนจำนวนมากอย่างยั่งยืน ที่มหัศจรรย์ที่สุดคือไม่มีผลข้างเคียง
จากการที่คุณพงษ์ได้ใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด สุขภาพของเขาก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ วัณโรคที่เคยเป็นก็ไม่เป็นแล้ว อาการป่วยอื่น ๆ ก็ไม่มี กลายเป็นแข็งแรงเหมือนคนปกติทั่วไป ตรวจสุขภาพครั้งล่าสุดทั้งปอด ไต ก็ปกติดี โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ก็ไม่มีเลย
สุดท้ายนี้ต้องบอกว่าภูมิคุ้มกันเป็นสิ่งที่สำคัญมากจริง ๆ ไม่ใช่เฉพาะกับผู้ป่วย HIV แต่สำหรับการป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย และการต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้ามาแล้ว ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกันก็เตรียมตัวรับความทรมานได้เลย ดังนั้นต่อให้คุณจะป่วยหรือไม่ ก็ควรจะดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี หมั่นสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการกินและออกกำลังกาย เพียงเท่านี้ก็จะสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างยั่งยืน